ทฤษฎีการเรียนรู้ของ กัททรี (Edwin R.Guthrie)
กัททรี (Edwin R.Guthrie) เป็นผู้สนใจศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวความคิดลัทธิพฤติกรรมนิยม และนิยมชมชอบคือ อธิบายพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมและเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ เขาเชื่อว่าหลักการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการวางเงื่อนไขและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (สภาวะแวดล้อมภายนอก) กับอินทรีย์ (สภาวะแวดล้อมภายในร่างกาย หลักการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของกัททรี มีดังนี้
1. เมื่อสภาวะสมดุลในกระบวนการจูงใจ (Homeostasis) สูญสิ้นไปอินทรีย์จะเริ่มสร้างแรงจูงใจจะสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมซึ่งบุคคลเคยเรียนรู้มาแล้ว
2. พฤติกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นตามสภาวะสมดุลย์ในการจูงใจจะสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมซึ่งบุคคลเคยเรียนรู้มาแล้ว
3. พฤติกรรมทั้งหลายของคนเราไม่ว่าจะซับซ้อนอย่างไร ก็สามารถอธิบายได้ตามลักษณะนิสัยและเหตุจูงใจตามหลักการดังกล่าวข้างต้น (ข้อ 1 และ ข้อ 2)
กัททรี ได้เน้นศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ระดับโมเลกุล (Molecular Level) กับระดับ โมลาร์ (Molar Level) กล่าวคือ พฤติกรรมการเรียนรู้ระดับโมเลกุลนั้นเกิดขึ้นเชื่อมโยงกับระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) การเกิดพฤติกรรมใหม่แต่ละครั้งเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทแต่ละส่วนที่กระตุ้น เช่นการกระพริบตาเมื่อถูกวางเงื่อนไขโดยการเป่าลมที่ตา ทุกครั้งที่ลูกโป่งสำหรับเป่าลมถูกยกมาบริเวณใกล้ตา ตาจะกระพริบทันที ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ทำการเป่าลมออกมา ส่วนพฤติกรรมโมลาร์เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อและประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นการทำงานรวมระบบสิ่งเร้าการตอบสนอง (S-R Pattern) พฤติกรรมต่างๆ จะมีลักษณะต่อเนื่องเป็นโซ่ และมีแรงจูงใจมีการเสริมแรงจึงทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้ ทวีความเข้มอย่างเด่นชัดมากขึ้น เช่นท่าทางการเดินของแต่ละคนจะผสมกลมกลืนระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ การสั่งงานของระบบประสาทสัมผัสกับอวัยวะมอเตอร์ตลอดจนลักษณะกริยาเดินที่เลียนแบบจากบิดามารดาเป็นต้น ผลจากการเรียนรู้พฤติกรรมการเดินจากบิดามารดา (สิ่งแวดล้อมภายนอก) รวมกับตัวบุคคลผู้นั้น (สิ่งแวดล้อมภายใน) ได้กำหนดแบบพฤติกรรมการเดินคล้ายคลึงกับต้นแบบ จึงดูเสมือนว่าเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น