วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ ฮาล

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ ฮาล (Clatk Hull)
ฮาล (Clatk Hull) เป็นหนึ่งในหมู่นักวิทยาศาสตร์กลุ่มลัทธิพฤติกรรมนิยม[Behavioralism]
เช่นเดียวกับ โทลแมน และ สกินนเนอร์ (Guthric Tolman and Skinner) ซึ่งสนใจและศึกษาพฤติกรรมตามแนวความคิดของวัทสัน นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ลดความสำคัญของคำว่า “จิตใจ” และพยายามหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำๆ นี้โดยมุ่งเน้นการศึกษาข้อมูลพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรมสังเกตได้ วัดได้ ทดลองและทำซ้ำได้ แสดงหรือพิสูจน์ได้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งเป็นการศึกษาตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น โดยเฉพาะฮาล ซึ่งมีพื้นฐานความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ได้เสนอแนวคิดทฤษฎีที่ชื่อว่า “Hypothetico-deductive or mathematico deductive” คือความคิดความเชื่อที่ว่าพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กับสภาวะแวดล้อมและเป็นไปตามสูตร ดังนี้ (Hull, 1994)
sEr = sHr x D X K X V
sEr = พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดตามแนวโน้ม S – R ซึ่งขึ้นอยู่กับนิสัย
sHr = นิสัย (การกระทำ) เป็นการเสริมแรงตามหลักของจิตวิทยา
S – R ประกอบด้วย D และ K
D = แรงขับ
K = สิ่งล่อใจจากภายนอก
V = อำนาจการเร้าของ K

ไม่มีความคิดเห็น: