วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550

จังหวัดพิษณุโลก






พิษณุโลก มีประวัติศาสตร์อันยาวนานควบคู่กับประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในศิลาจารึก ตำนาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว สระหลวง สองแควทวิสาขะ ไทยวนที เดิมเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองเก่าสมัยขอม อยู่ห่างจากที่ตั้งเมืองปัจจุบันลงไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร เรียกว่า "เมืองสองแคว" ที่เรียกเช่นนี้ เพราะตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำน่าน กับ แม่น้ำเหตุ แต่ปัจจุบันแม่น้ำแควน้อยเปลี่ยนทางเดินออกห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 10 กิโลเมตร ที่ตั้งตัวเมืองเก่าในปัจจุบันคือ บริเวณวัดจุฬามณี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของพิษณุโลก แต่เมื่อประมาณพุทธศักราช 1900 พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้โปรด ให้ย้ายเมืองสองแคว มาตั้งอยู่ ณ บริเวณตัวเมืองในปัจจุบัน และยังคงเรียกกันติดปากว่า เมืองสองแคว เรื่อยมา
ภูมิศาสตร์
จังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทยห่างจากกรุงเทพฯ 320 กม. มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10,815 ตร.กม. หรือ 6,759,909 ไร่ ทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูง โดยมีเขตภูเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง วัดโบสถ์ เนินมะปราง นครไทย และชาติตระการ พื้นที่ตอนกลางมาทางใต้เป็นที่ราบ และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำยม ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตอำเภอบางระกำ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม อำเภอเนินมะปราง และบางส่วนของอำเภอวังทอง
หน่วยการปกครอง
แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 93 ตำบล 1,032 หมู่บ้าน
1. อำเภอเมืองพิษณุโลก
2. อำเภอนครไทย
3. อำเภอชาติตระการ
4. อำเภอบางระกำ
5. อำเภอบางกระทุ่ม
6. อำเภอพรหมพิราม
7. อำเภอวัดโบสถ์
8. อำเภอวังทอง
9. อำเภอเนินมะปราง

การศึกษา
จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน มีสถานศึกษามากมายทุกระดับตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัด: รูปพระพุทธชินราช
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกนนทรี (Peltophorum pterocarpum)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: พรรณไม้ปีบ (Millingtonia hortensis)
คำขวัญประจำจังหวัด: พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา

Phitsanulok (Thai: พิษณุโลก) is one of the provinces (changwat) of Thailand, located in the North of Thailand. Neighboring provinces are (from east clockwise) Loei, Phetchabun, Phichit, Kamphaeng Phet, Sukhothai, Uttaradit. In the north-east it also has a short border with Xaignabouli of Laos.
Geography
The provincial capital of Phitsanulok is also sometimes called Song Kwae, the city of two rivers, an ancient name dating to a time centuries ago when the Nan and Kwae Noi rivers met near the city. Three national parks are located in the province: Thung Salaeng Luang at the border to the Phetchabun province, Phu Hin Rong Kla at the border to the Loei province, and Namtok Chat Trakan

Administrative divisions

The province is subdivided in 9 districts (Amphoe). These are further subdivided into 93 communes (tambon) and 993 villages (muban).
1. Mueang Phitsanulok
2. Nakhon Thai
3. Chat Trakan
4. Bang Rakam
5. Bang Krathum
6. Phrom Phiram
7. Wat Bot
8. Wang Thong
9. Noen Maprang

Education
Phra Buddhachinaraj
Naresuan University (abbreviated as Mor Nor for Mahawithayalai Naresuan) is an educational center of the Lower Northern region of Thailand. Located in Tambon Tha Pho, near the city of Phitsanulok, the university is named after King Naresuan the Great, and the campus contains a large statue of him.

Symbols

The seal of the province shows the Buddha Chinnarat, which is considered one of the most beautiful Buddha figures in Thailand. It is located in Wat Mahathat temple in the city Phitsanulok.
The provincial symbol flower is the Yellow Flamboyant (Peltophorum pterocarpum), and the provincial tree is the Millingtonia hortensis.

ไม่มีความคิดเห็น: