วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550

จังหวัดพิจิตร



พิจิตร เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง มีความหมายว่า "เมืองงาม" ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดพิษณุโลก มีแม่น้ำน่านและแม่น้ำยมไหลผ่าน ตัวเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ในสมัยสุโขทัย ปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และในศิลาจารึกหลักที่แปด รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า "เมืองสระหลวง" ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยารัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองโอฆบุรี" ซึ่งแปลว่า "เมืองในท้องน้ำ" ตามตำนานกล่าวว่า พระยาโคตรบอง เป็นผู้สร้างเมืองพิจิตร แต่จะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ นอกจากนี้เมืองพิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระศรีสรรเพชญที่ 8 หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ
ประวัติศาสตร์
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพิจิตรเป็นหัวเมืองชั้นตรี ตำแหน่งเจ้าเมืองมีปรากฏตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนฯ ว่า ออกญาเทพาธิบดีศรีรณรงค์ฤๅไชยอภัยพิรียภาหะ ศักดินา 5,000 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นขุนนางบรรดาศักดิ์ระดับสูง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีหัวเมืองชั้นตรีเพียง 7 เมืองเท่านั้น คือ เมืองพิชัย เมืองพิจิตร เมืองนครสวรรค์ เมืองพัทลุง เมืองชุมพร เมืองจันทบูร และเมืองไชยา จึงนับว่าในสมัยโบราณพิจิตรเป็นเมืองที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญสูง จนตำแหน่งเจ้าเมืองมีการตราไว้ในพระไอยการฯ ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ตราไว้ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองเช่นเมืองอื่น ๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียงซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ ลัดแม่น้ำน่านที่ตื้นเขิน คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา
หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ 89 ตำบล 852 หมู่บ้าน
1. อำเภอเมืองพิจิตร
2. อำเภอวังทรายพูน
3. อำเภอโพธิ์ประทับช้าง
4. อำเภอตะพานหิน
5. อำเภอบางมูลนาก
6. อำเภอโพทะเล
7. อำเภอสามง่าม
8. อำเภอทับคล้อ
9. กิ่งอำเภอสากเหล็ก
10. กิ่งอำเภอบึงนาราง
11. กิ่งอำเภอดงเจริญ
12. อำเภอวชิรบารมี

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัด: ต้นโพธิ์ริมสระหลวง
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวหลวง (Nymphaea lotus)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: บุนนาค (Mesua ferrea)
คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองชาละวัน แข่งขันเรือยาว ข้าวจ้าวอร่อย ส้มท่าข่อยรสเด็ด หลวงพ่อเพชรรวมใจ
Phichit (Thai: พิจิตร) is one of the provinces (changwat) of Thailand, located in the north of the country. Neighboring provinces are (from north clockwise) Phitsanulok, Phetchabun, Nakhon Sawan and Kamphaeng Phet.
History
The town Phichit was established in 1058 by Phraya Kotabongthevaraja, and was first part of the Sukhothai kingdom, and later of Ayutthaya. The name of the main city changed several times. At first it was called Sra Luang (city of the royal pond), in Ayutthaya times it was called Okhaburi (city in the swamp), and then finally Phichit (beautiful city).
Administrative divisions
The province is subdivided in 9 districts (Amphoe) and 3 minor districts (King Amphoe). These are further subdivided into 89 communes (tambon) and 852 villages (muban).
Amphoe

King Amphoe
1. Mueang Phichit
2. Wang Sai Phun
3. Pho Prathap Chang
4. Taphan Hin
5. Bang Mun Nak
6. Pho Thale
7. Sam Ngam
8. Tap Khlo
12. Wachirabarami
9. Sak Lek
10. Bueng Na Rang
11. Dong Charoen
Symbols

The provincial seal shows a pond, which refers to the old name of Phichit, Mueang Sra Luang (meaning city at the royal pond). The Banyan tree in front refers to the temple Wat Pho Prathab Chang. The temple was built in 1669-71 by King Luang Sorasak, who was born in the village of Pho Prathab Chang, between a Banyan and a Sacred Fig.
The flag of Phichit shows the circular provincial seal in the middle. It has three green bars and two white horizontal bars, with the middle bar being interrupted by the seal.
Provincial tree is the Ironwood Mesua ferrea, provincial flower is the Lotus (Nymphaea lotus).

ไม่มีความคิดเห็น: